วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จรรยาบรรณวิชาชีพครู

จรรยาบรรณวิชาชีพครู
(Code of Ethics of Teaching Profession)
ความหมาย
                        จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ

ความสำคัญ
                        จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ
                        ๑.    ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
                        ๒.   รักษามาตรฐานวิชาชีพ
                        ๓.   พัฒนาวิชาชีพ

ลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู
                        จรรยาบรรณวิชาชีพครู จะต้องมีลักษณะ ๔ ประการ คือ
๑.      เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student)
๒.    เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society)
๓.     เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession)
๔.     เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน (Commitment to the employment practice)










แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539


จรรยาบรรณวิชาชีพครู และลักษณะของครูที่ดี

                        จรรยาบรรณวิชาชีพครู หมายถึง ประมวลความประพฤติกรรมหรือกิริยาอาการที่ ประกอบวิชาชีพครูควรประพฤติปฏิบัติเพื่อรักษาส่งเสริม เกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของความ เป็นครู (ยนต์ ชุมจิต. 2531 : 131)
                        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 74 ท่าน เพื่อ ร่างจรรยาบรรณวิชาชีพครู ในระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2524 ผลการประชุม ที่ประชุมเห็นชอบ ให้แบ่งจรรยาบรรณวิชาชีพครูเป็น 4 หมวด (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2524 : 3) ดังนี้
                        หมวดที่ 1 ว่าด้วยอุดมการณ์ครู ซึ่งเป็นหัวใจของการเป็นครู
                        หมวดที่ 2 ว่าด้วยเอกลักษณ์ของครู โดยเน้นให้เห็นลักษณะเฉพาะของครูที่แตกต่างจาก บุคคลในอาชีพอื่น
                        หมวดที่ 3 ว่าด้วยการรักษาวินัยแห่งวิชาชีพครู
                        หมวดที่ 4 ว่าด้วยบทบาทของครูต่อบุคคล และสังคม


หมวดที่ 1 อุดมการณ์ครู ซึ่งเป็นหัวใจของการเป็นครู ประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้
1.    ศรัทธาในอาชีพครู อุทิศตน เพื่อศิษย์ และการศึกษา
2.    ธำรงและส่งเสริมเกียรติแห่งวิชาชีพครู
3.    บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
4.    ยึดมั่นในคุณธรรม มีใจรัก และเมตตาต่อศิษย์
5.    มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
6.    ยึดมั่นในศาสนา พระมหากษัตริย์

หมวดที่ 2 เอกลักษณ์ของครู โดยเน้นให้เห็นลักษณะเฉพาะของครูที่แตกต่างจากบุคคล ในอาชีพอื่น ประกอบด้วยคุณลั กษณะดังนี้
1.    ดำรงตนอย่างเรียบง่าย ประหยัด เหมาะสมกับอาชีพครู
2.    มีอารมณ์มั่นคง และสามารถควบคุมอารมณ์ทั้งในและนอกเวลาที่สอน
3.    มีสัจจะความจริงในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ครู และต่อตนเอง สามารถร่วมงานเป็น หมู่คณะได้
4.    เป็นผู้มีวัฒนธรรม มีศีลธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือ และเป็นตัวอย่างที่ดี ของศิษย์
5.    เป็นคนตรงเวลา ประพฤติตนสม่ำเสมอ
6.    เป็นผู้มีวาจาสุภาพอ่อนโยนและแต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม
7.    ใฝ่หาความรู้ สำรวจและปรับปรุงแก้ไขตนเองและงานสอนอยู่เสมอ
8.    กระตือรือร้น ขยันหมั่นเพียรและตั้งใจใช้กลวิธีสอนให้ศิษย์ เกิดความรู้จนเป็น แบบอย่างการสอนที่ดี
9.    มีความคิดริเริ่มและนำสิ่งใหม่ ๆ มาใช้สอนศิษย์
10. รู้จักผ่อนปรนต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานครู และหาทางแก้ไขโดยสันติวิธีเป็น พลเมืองดี
12. ให้เกียรติโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะครอบครัว เพศและวัย
13. เป็นผู้มีใจกว้าง และมีน้ำใจนักกีฬารับฟังความคิดเห็นของศิษย์ และเปิดโอกาสให้ศิษย์ ได้ปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอ
14. เอาใจใส่ต่อการเรียน ความประพฤติ และความเป็นอยู่ของศิษย์อยู่เสมอ
15. เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของศิษย์
16. เป็นผู้เห็นศิษย์มีความสำคัญ และพิจารณาคุณค่าของศิษย์แต่ละคนด้วยเหตุผล
17. เป็นผู้ที่น่าเคารพรัก และทำให้ศิษย์ เกิดความอบอุ่นใจ
18. มีความยุติธรรม และตัดสินใจหรือลงโทษศิษย์อย่างมีเหตุผล
19. เป็นผู้ควรแก่การยกย่อง นับถือในเชิงภูมิปัญญา และเชาว์ ไหวพริบในด้านการอบรม สั่งสอน
20. สามารถอรรถาธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่าย
หมวดที่ 3 ว่าด้วยการรักษาวินัยแห่งวิชาชีพครู
1.    รักษาความลับของศิษย์ เพื่อนร่วมงานและสถานศึกษา
2.    ไม่แสดงอาการอาฆาตพยาบาลต่อศิษย์
3.    เข้าสอนโดยสม่ำเสมอ ไม่ปิดบังหรือบิดเบือน เนื้อหาสาระทางวิชาการ
4.    สุภาพเรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่อง ต่อ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
5.    ต้องถือและปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมที่ดีของสถานศึกษา
6.    ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยการเอาใจใส่ ระมัดระวังรักษา ผลประโยชน์ ของสถานศึกษา
7.    ไม่ละทิ้งหน้าที่ด้านการสอนและงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนอุทิศเวลา ของตนให้กับสถานศึกษา
8.    รักษาความสามัคคี ชื่อเสียงของคณะและสถานศึกษาที่สังกัดอยู่
9.    ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง ด้วยความรับผิดชอบและเสียสละ
10. ให้เกียรติแก่เพื่อนร่วมอาชีพ และบุคคลทั่วไป
11. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา
12. รักษาความลับของเพื่อนร่วมงาน และสถานศึกษา
13. รักษาและส่งเสริมความสามัคคีของหมู่คณะ
14. ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือ เป็นภัยต่อมนุษยชาติ
15. ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
16. รักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว
17. ประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม โดยไม่ เห็นแก่ประโยชน์ อันมิชอบ

หมวดที่ 4 ว่าด้วยบทบาทของครูต่อบุคคล และสังคม
1.    ยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.    ส่งเสริมกิจกรรมในระบอบประชาธิปไตย
3.    ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันด้วยกันและระหว่างสถาบันและชุมชน
4.    สร้างและส่งเสริมความสามัคคีอันดีระหว่างครูและผู้ปกครอง
5.    ดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีชุมชน
6.    รับใช้สังคม ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ
7.    โอบอ้อมอารีมีน้ำใจต่อผู้อื่น

                        ในปี พ.. 2526  คุรุสภาได้มีการปรับปรุงจรรยาบรรณวิชาชีพครูขึ้นใหม่ เรียกว่าระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู” (คุรุสภาพ. 2526 : 2-3) ซึ่งมีระเอียดดังนี้
                        ครูต้องมีจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู ดังต่อไปนี้
1.    เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ด้วยความ บริสุทธิ์ใจ
2.    ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3.    ตั้งใจสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดี ด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานมิได้
4.    รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ชื่อว่าประพฤติชั่ว ไม่ประพฤติการอันใดจะทำให้เสียชื่อเสียง และเกียรติ ของความเป็นครู
5.    ถือปฏิบัติตามระเบียบ และแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา
6.    ถ่ายทอดความรู้โดยไม่ปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตน ไปใช้ ในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ
7.    ให้เกียรติผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตนและ ไม่เบียดบังใช้แรงงาน หรือนำผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
8.    ประพฤติอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9.    สุภาพเรียบร้อย ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงาน และสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีของครู และช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

                        คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องคุณธรรม สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2529 และได้กำหนดขอบเขตจรรยาบรรณ ของวิชาชีพครูไว้ดังนี้ ( คุรุสภา,2529 : 5-7 )
1.    ตั้งใจสอนศิษย์ อุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดี ไม่ละทิ้งหน้าที่การงาน
2.    ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่ปิดบังอำพราง ไม่นำผลงานทางวิชาการไปใช้ในทางที่ทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
3.    ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ผู้ร่วมงาน และสถานศึกษา
4.    ไม่แอบอ้างผลงานทางทางวิชาการของผู้อื่นมาเป็นของตน และไม่ใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
5. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ได้ชื่อว่าประพฤติชั่ว อันจะทำให้เสื่อมเสียเกียรติของครู

                        กล่าวโดยสรุป หัวใจสำคัญของจรรยาบรรณครูมี 3 ประการ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ รักและปรารถนาดีต่อศิษย์อย่างจริงใจ วางตนให้เป็นที่นับถือของผู้อื่น การที่ครูผู้ใดจะมีคุณธรรม ดังกล่าวได้ จะต้องรู้จัก และตีความวิชาชีพครูให้ชัดเจนก่อน

คุณลักษณะที่ดีของครู
                        คุณลักษณะของครูที่ดีนั้นมีผู้กล่าวไว้หลายท่าน ในหลายโอกาส พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูอาวุโส ประจำปี พ.. 2522 ซึ่งมี ข้อความที่แสดงถึงคุณลักษณะที่ดีของครูที่ดีไว้ดังนี้
                        “ ครูที่แท้นั้นเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือต้องขยันและอุตสาหะพากเพียร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้น และอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติและ ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย และความ สนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องมั่นใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษา ความจริงใจ ต้องเมตตา หวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญา ให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาด รอบรู้ในเหตุและผล ” (คุรุสภา, 2524 : 3)

                        พระพุทธทาสภิกขุ ( 2530 : 1-27 ) ได้บรรยายเรื่องธรรมะสำหรับครูระหว่าง วันที่ 4-9 กันยายน 2527 ณ สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีความบางตอนแสดงถึง คุณลักษณะของครูที่ดีไว้ดังนี้
                        “ครูในฐานะที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปูชนียบุคคล ควรกอร์ปด้วยคุณธรรมของครู คือเปิด ประตูทางวิญญาณของโลกที่ปิดด้วยอวิชชาให้ออกมาสู่แสงสว่าง และอิสรภาพทางจิตมีลักษณะ สูงส่งในแง่คุณธรรม มีหน้าที่พัฒนามนุษย์ให้เป็นในทางที่ถูกทุกวิถีทาง มีจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตา กรุณาและปัญญา ทำบุญคุณและมีประโยชน์แก่โลกอย่างมหาศาลโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน เพียงเลี้ยวชีวิตได้ ครูต้องสร้างเด็กให้มีสติปัญญา มีเหตุผล ช่วยให้เขาหลุดพ้นจากสัญชาติญาณ อย่างสัตว์ สามารถสร้างบ้านสร้างชาติและสังคมโลก เป็นพุทธมามกะที่สมบูรณ์ รู้จักรับผิดชอบชั่ว ดี เชื่อฟังบิ ดามารดา และให้เขารู้จักว่าไท” (อิสระจากกิเลส) “มัชฌิม” (ทางสายกลางอริยมรรค) “โชคดี” (ทำดีทางกาย วาจา ใจ) “เกียรติ” (รู้ว่าตนเองได้ทำดีถูกต้อง มี คุณค่า ควรแก่การ ภาคภูมิใจ)

                        พระราชนันทมุนี (2525 : 3-4) ได้นำหลักธรรมในพุทธศาสนาเกี่ยวกับพระกรุณาธิคุณของ พระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึงคุณลักษณะของผู้อบรมสั่งสอนที่เป็นเลิศ ดังนี้
                        “พระพุทธศาสนา ถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ สอนและผู้เรียน นั้น อยู่ในฐานะเป็นกัลยา นิมิตร คือเป็น ผู้ช่วยเหลือ แนะนำผู้เรียนให้ดำเนินก้าวหน้าไปในมรรคแห่งการฝึกอบรม ซึ่งมี ลักษณะ 7 ประการดังนี้ คือ ปิโย คือ กระทำตนให้เป็นที่น่ารัก เป็นที่น่าไว้วางใจ ครุ คือ น่า เคารพทำให้ศิษย์เกิดความอบอุ่น ภาวนิโย คือ น่ายกย่อง ทรงคุณความรู้ ภูมิปัญญาอย่างแท้จริง วัตตา คือ รู้จักระเบียบแบบแผน ทั้งกายและวาจา วัจนักนโม คือ อดทนต่อพฤติกรรมของศิษย์ คัมภีรันญกะถังกัตตา คือ มีความสามารถชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งได้ โนจัตถาเน นิโยชะเย คือ ไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย

                        คณะกรรมการข้าราชการครู (2529 : 12) จัดประชุมสัมมนา เรื่อง การปฏิรูปการฝึกหัดครู ตามโครงการพัฒนาศึกษาอาเซี่ยน เมื่อวันที่ 24-27 ธันวาคม 2524 และได้สรุปลักษณะของครูที่พึง ประสงค์ ไว้ดังนี้
                        1.    มีความเป็นครู คือ ทำตนเองเป็นตัวอย่างที่ดี มีเมตตาปราณี รักอาชีพครู ใฝ่รู้ โลก ทัศน์กว้าง รับผิดชอบต่อหน้าที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีวุฒิภาวะ ยุติธรรม มีชีวิตที่สงบ และ เรียบง่าย มีบทบาทในการช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น
                        2.    มีความรู้ในด้านต่อไปนี้ คือ
                                2.1  วิชาเฉพาะอย่างลึกซึ้งเหมาะสมกับระดับการศึกษาที่จะสอน
                                2.2  วิชาครู วิทยาการการจัดการ จิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การวิจัย การประเมินผล
                                2.3  ความรู้ทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ ธรรมชาติ
                        3.    มีความสามารถในวิธีสอน วิธีอบรมและการพัฒนาการเป็นผู้นำ ผู้ตาม และ ผู้ประสานงานที่ดีโดยได้รับการฝึกปฏิบัติเหมาะสมจนเกิดเป็นทักษะ

                        ฝ่ายพัฒนาข้าราชการครู กองวิชาการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการข้าราชการครู (2529 : 1) ได้กำหนดคุณลักษณะของครูที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไว้ดังนี้ คือสอนดี มีระเบียบ เพียบคุณธรรม นำสังคมพร้อมกับการกำหนดคุณลักษณะดังกล่าว เพื่อพัฒนาวินัย และจริยธรรมสำหรับข้าราชการครู 6 เรื่อง คือ
                        1.    การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : ตรงเวลา
                        2.    การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : การแสดงหาทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน
                        3.    การปฏิบัติการสอนที่มีคุณภาพ : การคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
                        4.    การปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
                        5.    การประพฤติเป็นแบบอย่างที่ ดี
                        6.    การมุ่งมั่นในการทำประโยชน์แก่สังคม

                        คณะอนุกรรมการส่งเสริมวิชาชีพครู (คุรุสภา. 2532 : 1) ได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐาน วิชาชีพครูเมื่อเดือนสิงหาคม 2532 โดยกำหนดว่า ครูควรมีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการคือ
                        1.    รอบรู้ คือ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจสังคมโดยทั่วไป และรอบรู้เรื่องราว เกี่ยวกับอาชีพของตน
                        2.    สอนดี คือ สามารถทำการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                        3.    มีคุณธรรม จรรยาบรรณ คือ มีศรัทธาในอาชีพของตน ตั้งใจใช้ความรู้ความสามารถ ในอาชีพ เพื่อเยาวชนและสังคมมีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่ออาชีพ และมีความรักษา ปรารถนาดีต่อเยาวชน ตลอดจนอุทิศเวลาให้กับศิษย์
                        4.    มุ่งมั่นพัฒนา คือ ปรับปรุงตนเอง ใฝ่ศึกษาหาความรู้ คิดค้นหาความรู้ที่ทันสมัยอยู่ เสมอ
จากการศึกษา พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัว ทัศนะของ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนจรรยาบรรณครูและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสรุปจะได้คุณลักษณะทาง จริยธรรมครู รวม 6 ด้านดังนี้
                                1.    ความซื่อสัตย์
                                2.    ความรับผิดชอบ
                                3.    ความเมตตากรุณา
                                4.    ความเสียสละ
                                5.    ความยุติธรรม
                                6.    การรักษาระเบียบวินัย

                        คุณลักษณะทางจริยธรรมทั้ง 6 ด้านนั้น โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2528 : 582 – 592) ได้ให้ ความหมายไว้ดังนี้
                        1.    ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น แสดงออกเป็น พฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
                                1.1      ถ่ายทอดความรู้โดยไม่ปิดบังอำพราง
                                1.2      ไม่เบียดบังแรงงานหรือนำผลงานขอผู้อื่นมาเป็นของตน
                                1.3      ไม่เบียดบังทรัพย์สินส่วนรวม หรือส่วนราชการไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือ พวกพ้อง
                                1.4      ไม่อวดอ้างความสามารถเกินความจริง
                                1.5      ไม่นำ หรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อ มนุษยชาติ
                                1.6      ใช้เวลาราชการเพื่อประโยชน์ทางราชการอย่างเต็มที่
                                1.7      ไม่ชักชวนศิษย์กระทำในสิ่งที่เสื่อมเสีย
                                1.8      เข้าสอน และเลิกสอนตามเวลาที่กำหนด
                                1.9      ไม่ประจบ สอพลอผู้บังคับบัญชาเพื่อประโยชน์ส่วนตน
                                1.10    ปฏิบัติหน้าที่อย่างดี ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้บังคับบัญชา
                                1.11    เป็นบุคคลรักษาคำมั่นสัญญา
                        2.    ความรับผิดชอบ หมายถึง ความมุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน พากเพียร และละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น แสดงออกเป็นพฤติกรรมดังนี้
2.1      เตรียมการสอนอย่างดี
2.2      ดูแลซ่อมแซม ปรับปรุง อุปกรณ์ และสถานที่ของทางราชการอยู่เสมอ
2.3      แสวงหาแนวทางวิธีการปรับปรุงในงานที่รับผิดชอบอยู่เสมอ
2.4      ค้นคว้าหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
2.5      ไม่เพิกเฉยในเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดผลเสียต่องานราชการ
2.7      มีความละเอียด รอบคอบในการทำงาน
2.8      อดทนต่อปัญหาต่าง ๆ ในการทำงาน โดยไม่ละทิ้งและท้อถอยโดยง่าย
2.9      อดทนต่อพฤติกรรมที่ยั่วยุของศิษย์ ไม่แสดงความโกรธโดยง่าย
2.10   ยอมรับผลการกระทำของตน
2.11   รู้จักหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ
2.12   ให้ความร่วมมือในกิจการของสถาบันเป็นอย่างดี
2.13   ผ่อนปรนต่อปัญหาต่าง ๆ และหาทางแก้ไขโดยวิธีทางปัญญาและสันติวิธี
2.14   ใช้ทรัพย์สินราชการอย่างประหยัด
                        3.    ความเมตตา กรุณา เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้ผู ้อื่นเป็นสุข กรุณา หมายถึง ความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
3.1      สนใจ เอาใจใส่ศิษย์ที่มีปัญหาอย่างสม่ำเสมอ
3.2      ชักนำให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม
3.3      ให้โอกาสกับศิษย์ได้แก้ตัวต่อการกระทำที่ผิดพลาด
3.4      ให้กำลังใจแก่ศิษย์โดยเฉพาะศิษย์ที่มีปัญหา
3.5      ให้ความอนุเคราะห์กับศิษย์และบุคคลทั่วไปตามสมควรกับฐานะ
3.6      ไม่ใช้ถ้อยคำหรือแสดงกริยาข่มขู่ศิษย์และผู้อื่น
3.7      ไม่ใช้ถ้อยคำหรือแสดงกริยาดูหมิ่นเสียดเสียศิษย์ และผู้อื่น
3.8      ไม่แสดงกริยาอาฆาตพยาบาทต่อศิษย์และผู้อื่น
3.9      มีบุคลิกภาพยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
3.10   ให้ความเป็นกันเองกับศิษย์และผู้อื่นอยู่เสมอ
                        4.    ความเสียสละ หมายถึง การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่คนที่ควรให้ ด้วยกำลัง กาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเองด้วย แสดงออกเป็น พฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
4.1 ร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษากับศิษย์ทั้งในและนอกเวลา ราชการอยู่เสมอ
4.2 ให้คำปรึกษากับศิษย์ในปัญหาต่าง ๆ ทั้งในและนอกเวลาราชการอยู่เสมอ
4.3 แบ่งปันทรัพย์สินตามสมควร เพื่อให้กิจการของศิษย์หรือสถาบันประสบ ความสำเร็จ
4.4 ช่วยเจรจาเป็นธุระในกิจการของศิษย์และสถาบันให้สำเร็จประโยชน์
4.5 ให้อภัยผู้อื่น ไม่แสดงการอาฆาตพยาบาท
4.6 ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
4.7 มีเหตุผล ไม่งมงายในความเชื่อของตน
                        5.    ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริง และเหตุผล ไม่มีความลำเอียง แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
5.1 ให้ความรู้และการบริการต่าง ๆ แก่ศิษย์โดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือ ความสัมพันธ์ส่วนตัว
5.2 ตรวจผลงานและให้คะแนนตามความเป็นจริงด้วยความเที่ยงธรรมและมีเหตุผล
5.3  ใช้หลักวิชาที่ถูกต้องในการประเมินผลการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
                        6.    การรักษาวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับ จรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้
6.1      แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพครู
6.2      วาจาสุภาพ
6.3      รักษาความลับของศิษย์ เพื่อร่วมงาน และสถานศึกษา
6.4      ตรงต่อเวลา
6.5      ดูแล จัดอุปกรณ์ทางการศึกษา และสถานที่ทำงาน สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย
6.6      ไม่สูบบุหรี่
6.7      ไม่ดื่มสุรา
6.8      ไม่เล่นการพนัน
6.9      ไม่ประพฤติผิดทางเพศ
6.10   ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของสถานศึกษาเป็นอย่างดี

จรรยาบรรณครูวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
1.    ครูพึงปฏิบัติตนตามแนวทางพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาที่ว่าขอให้ถือ ประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
2.    ครูต้องเป็นคนดีตามแนวทางพระราชดำรัสของสมเด็จย่าที่ว่าไม่พูดปด ไม่สอพลอ ไม่อิจฉา ริษยา ไม่คดโกง และพยายามทํ าหน้าที่ของตนเองให้ดี ในขอบเขตศีลธรรม
3.    ครูพึงปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมุ่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์
4.    ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และ วัฒนธรรมไทย พึงช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชนในทางสร้างสรรค์ สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข และยกระดับคุณภาพชีวิต
5.    ครูพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่น ๆ ในสังคม เพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคม
6.    ครูพึงปฏิบัติงานด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และ สถานภาพของบุคคล
7.    ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลืออบรม สั่งสอน สร้างเสริม ความรู้ ฝึกฝน ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงาม ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดย เสมอหน้า ให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
8.    ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
9.    ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และ สังคมของศิษย์
10. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่
11.  ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการ พัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
12. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีของสถาบันและองค์กรวิชาชีพ





















สรุปข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์ และขั้นตอนเกี่ยวกับ

การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ
อำนาจในการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษทางวินัย
                        ผู้มีอำนาจในการดำเนินการทางวินัยและลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชพลเรือน พ..2535 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.. 2537 จะต้องเป็น ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ตามที่บัญญัติ ไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม หรือผู้ที่ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2535 มาตรา 43   สำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในราชการ บริหารส่วนกลาง นั้น ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.. 2534 คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ผู้อำนวยการของส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง (สำนักบริหารกลาง ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักตรวจและประเมินผล สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และ สถาบันพระบรม-ราชชนก) ส่วนผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชา ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.. 2535 มาตรา 43 ปลัดกระทรวงสาธารสุขจะต้องมีคำสั่ง มอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชา เช่นหัวหน้าสำนักวิชาการสาธารณสุข หัวหน้าสำนักงานตรวจสอบ ภายใน และผู้อำนวยการวิทยาบันในสังกัดพระบรมราชชนก เป็นต้น (คำสั่ง สป.ที่ 4406//2537 ลง วันที่ 14 ธันวาคม พ.. 2537)

สถานโทษทางวินัยของข้าราชการและลูกจ้างประจำ
โทษทางวินัยของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มี 5 สถาน ดังนี้
                        กรณีกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน หรือตัดขั้นค่าจ้าง (กรณีเป็นลูกจ้างประจำ)
(3) ลดขั้นเงินเดือน หรือลดขั้นค่าจ้าง (กรณีเป็นลูกจ้างประจำ)
                        กรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(1) ปลดออก
(2) ไล่ออก

ขั้นตอนก่อนการดำเนินการทางวินัย (ตามมาตรา 99 วรรคสี่และวรรคห้า)
                        1.    เมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหา หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือน สามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐาน ให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนหรือ พิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูล ที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย จึงจะสั่งยุติเรื่องได้ แต่ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการทางวินัยทันที
                        2.    เมื่อปรากฏกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย โดย มีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที

ขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย
                        หลักการในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควร กล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย นั้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2535 มาตรา 102 บัญญัติไว้ว่าให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า โดยดำเนินการดังนี้
                        1.    ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามวิธีการที่ ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร (โดยปฏิบัติตามแนวทางตามหนังสือสำนักงาน ก.. ที นร 10118 19 ลง วันที่ 14 กรกฎาคม 2547)
                        2.    ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการ สอบสวนและในการสอบสวนนี้ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา เท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง และนำสืบข้อกล่าวหา เมื่อดำเนินการแล้ว ถ้ายังฟังไม่ได้ว่าผู้กล่าวหากระทำผิดวินัย จึงจะยุติ เรื่อง ได้ แต่ถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา 103 หรือมาตรา 104 แล้วแต่กรณี
                                (1)  กรณีตามมาตรา 103 คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างไม่ ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี
                                (2)  กรณีตามมาตรา 104 คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควร ลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกล่าวปลดออก ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีคำสั่งใด ๆ จะต้องเสนอเรื่องให้ อ... สำนักงานปลัดกระทรวง หรือ อ... กระทรวง พิจารณา กล่าวคือ กรณีที่คณะกรรมการสอบสวน หรือ อำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการ สอบสวนเห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้ดำเนินการดังนี้
                                ก.    สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 11 ลงมาถึงระดับ 8 และสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ระดับ 7 ลงมา ที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกันกับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 ส่งเรื่องให้ อ...กระทรวงสาธารณสุข และเมื่อ อ... กระทรวงสาธารณสุขมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าว สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไป ตามนั้น
                                ข.    สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 7 ลงมา ในราชการบริหารส่วนกลาง ให้ผู้มีอำนาจ สั่งบรรจุตามมาตรา 52 สั่งให้ อ... กระทรวงสาธารณสุข และเมื่อ อ... กระทรวงสาธารณสุข มีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าว สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
หมายเหตุ     สำหรับกรณีของลูกจ้างประจํา นั้น ขั้นตอนก่อนการดำเนินการทางวินัยและ ขั้นตอนในการดำเนินการทางวินัย ดำเนินการเช่นเดียวกันกับกรณีของข้าราชการ ต่างกันตรงที่กรณี เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง สามารถสั่งลงโทษได้ในทันที โดยไม่ต้องเสนอเรื่องไปให้ อ... พิจารณาก่อนแต่อย่างใด